หน้าเว็บ

ต้นกำเนิดโปงลาง

ต้นกำเนิดโปงลาง

            
        โปงลางนั้นบางแห่งจะเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากเตอะเติน เป็นเครื่องดนตรี ที่พัฒนามาจาก เกราะลอ หรือ ขอลอ เดิมที่ท้าวพรหมโคตรได้อพยพมาจากประเทศลาวเข้ามาอยู่ที่ฝั่งไทย ได้คิด ทำเกราะลอโดยคิดเลียนแบบจากเกราะที่ใช้ตีตามหมู่บ้าน เมื่อผู้ใหญ่บ้านต้องการเรียกลูกบ้านมาประชุมแจ้งเหตุ โดยนำเกราะลอที่ทำจากไม้มัดเรียงกันด้วยเถาวัลย์ มีอยู่ 6 ลูก 5 เสียง มีเสียง ซอล ลา โด เร มี ( ซอลสูง ) เพื่อตีไล่ฝูงนกฝูงกาที่มากินข้าวในไร่นา ต่อมาท้าวพรหมโคตร ได้ย้ายมาอยู่บ้านกลางหมื่น อำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ถ่ายทอดการตีเกราะลอให้นายปาน ต่อมานายปานเสียชีวิตลง นายขานเป็นน้องชายก็ได้สืบต่อการตีเกราะลอ ต่อมาและได้ถ่ายทอดให้ นายเปลื้อง ฉายรัศมี ซึ่งได้ทำการปรับปรุงการทำเกราะลอโดยใช้ไม้หมากหาด ซึ่งเป็น ไม้เนื้อแข็ง เวลาตีแล้วไม่บวมง่าย มีเสียงดังกังวาลมีการเพิ่มลูกจาก 9 ลูกเป็น 12 ลูก และ 13 ลูก เพิ่มจาก 5 เสียงเป็น 6 เสียง พร้อมกับคิดลายใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นคือลาย อ่านหนังสือใหญ่ ลายอ่านหนังสือน้อย ลายสุดสะแนน ลายสร้อย และลาย เซ และได้เปลี่ยนชื่อจากเกราะลอมาเป็น โปงลาง แล้วนำโปงลางมาเล่นรวมวงกับ ดนตรีอีสานชนิดอื่น ๆ เช่น แคน ซอ พิณ กลองหาง หมากกั๊บแก๊บ ไห เกิดความไพเราะและได้รับความสนใจจากผู้ที่ได้รับชมทั่วไป 
โปงลาง ได้รับการพัฒนามาจาก ขอลอจนสมบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2502 มีลูกเพิ่มขึ้นเป็น 12 - 13 ลูกในปีเดียวกันและให้ชื่อว่าโปงลาง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 
พื้นบ้านอีสาน       แหล่งที่มา http://202.28.32.131/prathom_music/pong1.html

รวมทั้งการแสดงร่วมกับเครื่องดนตรีสากล อีกด้วย
 

2 ความคิดเห็น: