หน้าเว็บ

เทคนิคการตีโปงลาง

เทคนิคการตีโปงลาง ::.
 
 
การตีโปงลางจะนั่งกับพื้นหรือยืน ในท่าที่ถนัด โดยจะอยู่ด้านซ้ายของโปงลาง ดังนี้
     1. จับไม้ตีโปงลางให้แน่น
     2. ฝึกไล่เสียงจากจากเสียงต่ำ ไปหาเสียงสูง และจากเสียงสูงไปหาเสียงต่ำ ในลักษณะสลับมือซ้าย-ขวา
     3. ฝีกตีกรอ รัว สะบัด
     4. 
ฝีกบรรเลงลายที่ง่ายๆ เช่น ลายโปงลาง เต้ย ลายภูไท เป็นต้น
 



ลักษณะเสียงโปงลาง
 
 การเคาะโปงลาง
 
โปงลางเป็นเครื่องดนตรีที่ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง เวลาเคาะจึงมีเสียงแกร่งสั้น และห้วน ถ้าเราเคาะโน้ต 1 หรือ 2 จังหวะ จะได้เสียงไม่ไพเราะ เพราะเสียงนั้นไม่มีกังวาล ผู้ฝึกหัดจึงสมควรที่จะฝึกปฏิบัติดังต่อไปนี้          1.       ฝึกเคาะรัวถี่แทนตัวโน้ต หรือซอยโน้ตให้ย่อยออกเป็นตัวเขบ็จ 1 ชั้น 2 ชั้น เป็นต้น          2.       ผู้ฝึกจึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องฝึกเคาะจังหวะตามทำนองหลักให้ตนเองได้ยินจนแม่นยำก่อน แล้ว
                    จึงฝึกซอยโน้ตทีหลัง 
          3.      โดยทั่วไป ผู้เคาะโปงลางมีอยู่ 2 คน ผู้ที่เล่นทำนองนั้นจะเรียกว่า หมอเคาะ ส่วนอีกคนหนึ่ง
                   จะเล่นเสียงประสาน เรียกว่า 
 หมอเสิบ”  
หมอเสิบนั้นเป็นผู้ช่วยทำจังหวะและทำเสียงทุ้ม
      
    การเคาะลูกโปงลาง อย่าเคาะตรงลงไปหนักๆตรงๆ จะทำให้เสียงกระด้าง ให้เคาะอย่างนิ่มนวล หรือเคาะแฉลบออกอย่างสม่ำเสมอ

แหล่งที่มา  http://www.trsc.ac.th/web_load_st/std/pong3.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น