หน้าเว็บ

ประวัติ ครูเปลื้อง ฉายรัศมี

     ประวัติครูเปลื้อง ฉายรัศมี





ครูเปลื้อง ฉายรัศมี เป็นบุตรของ นายคง และนางนาง ฉายรัศมี เกิดเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2475 ที่บ้านเลขที่ 7 บ้านตา ต.ม่วงมา อ.เมืองกาฬสินธุ์จ.กาฬสินธุ์ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านนา ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางยุพิน ฉายรัศมี และช่วยกันทำมาหากิน มีบุตรชาย 2 คนและหญิง 1 คน

ประวัติการทำงาน

พ.ศ. 2502-พ.ศ. 2510 ทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราวที่โครงการเขื่อนลำปาว
พ.ศ. 2516 สอบบรรจุลูกจ้างประจำสำนักงานป่าไม้จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำงานถึงปี 2519 ก็ลาออกมาทำอาชีพส่วนตัว
พ.ศ. 2520 เข้าทำงานที่สำนักงานชลประทาน จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. 2524 ย้ายมาทำงานที่อ่างเก็บน้ำห้วยมโน บ้านนา อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ และทำงานเป็นครูพิเศษสอนดนตรีพื้นบ้านที่วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์

ผลงาน/เกียรติประวัติ

นายเปลื้อง ฉายรัศมี เป็นนักดนตรีอีสานที่มีความสามารถเป็นพิเศษคือ สามารถเล่นสอนและทำเครื่องดนตรีอีสานได้ทุกชนิดที่สำคัญที่สุดคือ นายเปลื้อง ฉายรัศมี เป็นผู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้าปรับปรุงและพัฒนาโปงลางมาตลอดระยะเวลา ๔๐ ปี จนทำให้ กอลอ (เกราะลอ) ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงกระบอกไม้ที่ใช้ตีไล่นกกาตามหัวไร่ปลายนา หรือขอลอที่ใช้ตีบอกเวลา บอกเหตุในหมู่บ้านธรรมดากลายมาเป็นเครื่องดนตรีธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งคุณค่าแห่งความบริสุทธิ์และงดงาม ทั้งยังนำความภาคภูมิใจและหวงแหนมาสู่ชาวเมืองกาฬสินธุ์ด้วย "โปงลาง" ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ในลักษณะของมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า ด้วยเหตุนี้นายเปลื้อง ฉายรัศมี จึงได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๙

คำประกาศเกียรติคุณ

นายเปลื้อง ฉายรัศมี เป็นนักดนตรีพื้นบ้านอีสานที่มีความสามารถพิเศษ สามารถเล่นและถ่ายทอดการเล่นดนตรีพื้นบ้านอีสาน ได้เกือบทุกชนิด ทั้ง พิณ แคน ซอ โปงลาง และอื่น ๆ โดยเฉพาะ “โปงลาง” นั้น สามารถเล่นและถ่ายทอดการเล่นได้ดีเป็นพิเศษ และที่สำคัญที่สุดคือ เป็นผู้ศึกษา ค้นคว้า ปรับปรุงและพัฒนาโปงลางมาตลอดระยะเวลา ๔๐ ปี จนทำให้ “เกราะลอ” ซึ่งเป็นเพียงสิ่งที่ใช้ไล่ตีนก กา ตามไร่ตามนา พัฒนาเป็น “โปงลาง” ที่มีสภาพเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะ กังวาน และให้ความรู้สึกของความเป็นพื้นบ้านอีสานอย่างแท้จริง เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย และยอมรับกันว่าเป็นเครื่องดนตรีเอกลักษณ์ของภาคอีสานเคียงคู่กับ “แคน” ซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว จึงสมควรยกย่องและเชิดชู นายเปลื้อง ฉายรัศมี ไว้ในฐานะ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๒๙ [3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อื่นๆ



อ้างอิง

  1. กระโดดขึ้น ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๐. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, ๒๕๔๔. หน้า ๑๗๓-๑๗๘.
  2. กระโดดขึ้น นิติกร กรัยวิเชียร. ศิลปินแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๔. หน้า ๑๐๖.
  3. กระโดดขึ้น โคงการเปิดบ้านศิลปินแห่งชาติ กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น